You are currently viewing ความคิดหลอกเราได้ขนาดไหน? – จากบทที่ 1 ของหนังสือ The upside of stress

ความคิดหลอกเราได้ขนาดไหน? – จากบทที่ 1 ของหนังสือ The upside of stress

อาเลีย ครัม นักจิตวิทยาชาวอเมริกา ได้ทำการทดลองกับพนักงานเเผนกเเม่บ้านของโรงเเรม ที่คิดว่าตัวเองออกกำลังกายไม่เพียงพอ

โดยเเบ่งกลุ่มให้กลุ่มนึงเห็นโพสเตอร์ข้อมูลว่างานที่ทำเป็นเหมือนการออกกำลังกายจริงๆ (การทำงานบ้านใช้พลังงานเฉลี่ย 300 เเคลโลรี่ต่อชั่วโมง เปรียบเหมือนการออกกำลังกายจริงๆ) กับอีกกลุ่มไม่ได้รับข้อมูลว่างานที่ทำเป็นเป็นการออกกำลังในตัว

จากนั้น 4 สัปดาห์ต่อมาก็กลับไปติดตามผลเเละตรวจร่างกาย พบว่ากลุ่มที่ได้รับข้อมูลมีความดันเลือด น้ำหนักตัว ไขมันลดลง เเต่อีกกลุ่มไม่มีอะไรเปลี่ยนเเปลงทางร่างกาย

 

อีกอันคือการทดลองมิลก์เชค โดยให้ผู้เข้าร่วมทดลองอดข้าวมาก่อนทั้งคืน พอ 8 โมงเช้าก็มาที่ห้องเเลปโดยให้ดืมมิลก์เชคที่มีฉลากเเปะว่า “สูตรเข้มข้อเกินพิกัด การปรบเปรอตัวเองที่คุณคู่ควร” เเละมีข้อมูลโภชนาการ 620 เเคล มีไขมัน 30 กรัม

จากนั้นอีก 1 สัปดาห์ต่อมาทำเหมือนเดิม ให้อดอาหารเเล้วตอนเช้ามาดืมมิลก์เชก เเต่ครั้งนี้มีฉลากติดว่า ‘สูตรเพื่อความอร่อยโดยไม่รู้สึกผิด’ ให้พลังงาน 140 เเคล เเละมีไขมัน 0 กรัม

 

ทั้ง 2 ครั้งมีการเจาะเลือดเพื่อไปตรวจเพื่อวัดผลเกรลินในเลือด ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เรียกว่าฮอรโมนความหิว ถ้ามันสูงจะรู้สึกหิว ถ้าต่ำจะรู้สึกอิ่ม ถ้าเรากินอาหารที่ให้พลังงานสูงเกรลินจะลดอย่างรวดเร็ว กลับกันถ้ากินอาหารที่พลังงานน้อยเกรลินก็จะไม่ค่อยลด

ผลการทดลองนี้ก็เป็นไปตามที่เราคิด ครั้งเเรกกินมิลก์เชกที่ให้พลังงานเยอะเกรลินก็ลดตามทำให้อิ่ม ครั้งที่ 2 พอกินสูตรเพื่อสุขภาพที่พลังงานต่ำเกรลินก็ไม่ค่อยลด

เเต่ประเด็นคือฉลากเป็นของปลอม ทั้ง 2 ครั้งมิลก์เชกให้พลังงาน 380 เเคลเท่ากัน จริงๆเเล้วระบบย่อยกับร่างกายเราก็ไม่ควรมีปฏิกิริยาต่างกัน เเต่จากผลเจาะเลือดครั้งเเรกหลังการดื่มมิลก์เชคที่ฉลากเขียนว่าสูตรเข้มข้น ระดับของเกรลินหรือฮอร์โมนความหิวกลับลดลง 3 เท่ามากกว่าฉลากสูตรเพื่อสุขภาพ

จากการทดสอบก็เเสดงให้เห็นว่าความคิดว่ามีผลต่อร่างกายให้การตอบสนองต่อสิ่งต่างๆของเราด้วย

 

ลิงก์หนังสือ

Ball Thatthana

เเบ่งบันเรื่องราวการตลาดออนไลน์ ทำธุรกิจ พัฒนาตัวเอง เเง่คิดต่างๆ

Leave a Reply