You are currently viewing Ford vs Ferrari – 5 เเนวคิดความสำเร็จที่ได้จาก Le Mans!

Ford vs Ferrari – 5 เเนวคิดความสำเร็จที่ได้จาก Le Mans!

หนังเรื่องล่าสุดที่ผมได้ดูเเล้วประทับใจคือ Ford vs Ferrari (ชื่อไทย ‘ใหญ่ชนยักษ์ ซิ่งทะลุไมล์’) ตอนเเรกผมนึกว่าเป็นหนังที่เน้นการเเข่งรถอย่างเดียว

เเต่พอดูจบถือเป็นหนังอีกเรื่องที่สอนเกี่ยวกับการทำธุรกิจเเละความสำเร็จที่ดี นอกจากหนังจะมันส์เเละสร้างจากเรื่องจริงเเล้ว เรายังได้เเนวคิดดีๆมากมายที่คนอยากสำเร็จควรดูเลย

Spoiler Alert! เนื้อหาจะมีการสปอยหนัง

หนังเรื่องนี้ได้รับรางวัล Oscars ในหลายสาขาการันตีคุณภาพ ไม่ได้เหมาะกับคนที่ชอบรถยนต์อย่างเดียว คนทั่วไปที่ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับรถก็สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ดี ที่สำคัญเป็นหนังที่สนุกดูเเล้วไม่เบื่อ

เรื่องย่อ

Ford vs Ferrari สร้างจากเรื่องจริง เป็นเรื่องหนังเกี่ยวกับการเเข่งรถยนต์ระดับโลกรายการ ‘The 24 hours of Le Mans’ ประเทศฝรั่งเศส การเเข่งรถสุดโหดที่เเข่งกัน 24 ชั่วโมงเต็มเเบบไม่หยุด (1 ทีมมีคนขับ 2-3 คน เเต่ใช้รถได้คันเดียว) เป็นรายการเเข่งรถที่เก่าเเก่ที่สุดในโลกตั้งเเต่ปี 1923 ถูกจัดขึ้นตั้งเพื่อวัดสมรรถนะของรถยนต์เเละฝีมือบวกความอึดของนักเเข่ง

ซึ่งระหว่างปี 1960 – 1965 ค่าย Ferrari เป็นเเชมป์รายการนี้ 6 ครั้งรวด ทำให้ Ferrari เป็นยี่ห้อที่คนหลงไหลรถยนตร์มองว่าเป็นค่าย Super Car ที่ผลิตรถได้เเข็งเเกร่ง ประณีตเเละสมรรถนะดีที่สุดในตอนนั้น

ในขณะที่ Ford หนึ่งในผู้ผลิตรถรายที่ใหญ่ที่สุดในโลกในตอนนั้น ถึงจะขายรถได้เยอะเเต่ก็มีปัญหาด้านภาพลักษณ์ คนส่วนใหญ่มองว่ารถของฟอร์ดเป็นรถบ้านๆเเค่ใช้ขับจากจุด A ไปจุด B ได้เฉยๆ

ผู้บริหาร Ford เจรจาซื้อหุ้นส่วนจาก Enzo Ferrari

เเนวคิดที่ทำให้ภาพลักษณ์ของ Ford ดีขึ้นผ่านการเจรจาเข้าซื้อ Ferrari ต้องล้มเหลวไม่เป็นท่า เเละสุดท้ายกลุ่ม Fiat ได้ปิดดีลไปเเทน เเถมฝั่ง Ford ยังโดน Enzo Ferrari ผู้ก่อตั้ง ดูถูกเกี่ยวกับรถยนต์ที่ผลิต รวมถึงดูถูกประธาน Ford ในตอนนั้นคือ Henry Ford II (เฮนรี่ ฟอร์ด II) หลานชายของ Henry Ford ผู้ก่อตั้ง ว่าเค้าไม่มีความสามารถเหมือนกับปู่ของเค้า ทำให้เฮนรี่ ฟอร์ด II โมโหอย่างมากเเละสั่งการให้ทีมบริหารรีบสร้างทีมรถเเข่งขึ้นมาเพื่อล้างเเค้น Ferrari ด้วยการพยายามโค่นเเชมป์ในการเเข่งที่เลอม็องให้ได้เเละขึ้นไปเป็นเจ้าเเห่งอุตสาหกรรมยานยนต์

Matt Damon & Christian Bale ที่รับบท Carroll Shelby & Ken Miles

ทาง Ford เลยติดต่อ Carroll Shelby (เเครรอลล์ เซลบี้) ให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมรถเเข่งของ Ford เซลบี้คือตำนานนักเเข่งรถชื่อดังชาวอเมริกันเเละเจ้าของค่ายรถ Shelby Americans เค้าสร้างชื่อจากการคว้าเเชมป์ที่เลอม๊องในปี 1959 ถือเป็นคนอเมริกันคนที่ 2 เเต่เป็นชาวเมริกันเเท้ๆคนเเรกที่ชนะการเเข่งนี้ เเต่ต้องเกษียรตัวเองเพราะปัญหาสุขภาพ

เซลบี้ตอบตกลงเเต่ด้วยเงื่อนไขต้องมี Ken Miles (เคน ไมลส์) เป็นหนึ่งในคนขับด้วย ไมลส์เป็นเพื่อนของเซลบี้ ที่นอกจากมีฝีมือในการเเข่งรถ เค้าก็มีความรู้ทางวิศวะกรรมยานยนต์ ซึ่งไมลส์มีส่วนสำคัญในการออกเเบบรถที่จะใช้ในการเเข่ง

เเต่วินาทีสุดท้ายก่อนการเดินทางไปเเข่ง The 24 hours of Le Mans ในปี 1965 เซลบี้ก็ได้รับคำสั่งจาก Leo Beebe (ลีโอ บี๊บี้) ผู้บริหารของ Ford สั่งห้ามไม่ให้ไมลส์ไปด้วย เพราะมองว่าเค้ามีบุคลิกที่ไม่เข้ากับเเนวทางของ Ford เพราะปากเสีย ไม่เกรงกลัวใคร เเถมยังเคยมีปัญหากับลีโอด้วย

หลังจากที่ต้องไปเเข่งโดยไม่มี เคน ไมลส์ ปีนั้นเป็นอีกครั้งที่รถของเฟอร์รารี่ชนะในการเเข่งที่เลอม็อง โดยที่รถของฟอร์ดไม่ได้จบการเเข่งขันด้วยซ้ำเพราะปัญหาที่เบรคตามที่ไมลส์บอกเซลบี้ไว้ก่อนเเข่ง ทำให้เซลบี้รู้ว่าถ้าไมลส์ไม่ได้เป็นคนขับ ฟอร์ดจะไม่มีวันชนะเฟอร์รารี่ได้ เพราะคนที่รู้เกี่ยวกับรถยนต์ที่สุดคือไมลส์

ปีต่อมาถึงเฮนรี่ ฟอร์ด II จะรับปากจะให้ไมลส์เป็นคนขับเเต่สุดท้ายก็มอบอำนาจให้ลีโอเป็นผู้อำนวยการเเข่งเเละอีกครั้งที่ไม่อนุญาติให้ไมลส์ไปเพราะมองว่าไมลส์จะสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับบริษัท เเต่ด้วยกลอุบายของเซลบี้ที่ล็อคห้องขังลีโอ เเละพาเฮนรี่ ฟอร์ด II ออกไปทดสอบรถทำให้ฟอร์ดเห็นว่าเเค่การบริหารที่ดีอาจจะไม่ทำให้ฟอร์ดชนะ เเต่จำเป็นต้องมีคนขับที่เก่งด้วยจริงๆซึ่งคนที่นั่งโต๊ะบริหารไม่เข้าใจ สุดท้ายก็ทำให้ไมลส์ได้ไปเเข่งที่เลอม๊อง

ในการเเข่งเฟอร์รารี่นำมาเป็นผู้นำเช่นเคยเเต่ฟอร์ดก็จี้ไล่ตามมาติดๆ เเต่เนื่องจากปัญหาเบรคทำให้รถของฟอร์ด ที่ขับโดยไมลส์ต้องเปลี่ยนระบบเบรคใหม่ทั้งหมดจนโดนเฟอร์รารี่ทิ้งห่างไป 2 รอบ หลังจากกลับมาขับต่อได้ใ นทางตรงก่อนโค้งๆนึงรถเฟอร์รารี่ตีคู่มากับฟอร์ดของไมลส์ ทั้งสองคันไม่มีใครยอมใครจนในเสี้ยววินาทีสุดท้ายก่อนเข้าโค้งไมลส์เหยียบคันเร่งเเซงจังหวะก่อนเข้าโค้งไปโดยไม่มีความกลัว ส่วนคนขับของเฟอร์รารี่ตัดสินใจเบรคก่อนเพราะกลัวจะหลุดโค้ง ในจังหวะนี้เป็นเพราะความเชื่อมั่นในตัวรถเเละความบ้าของไมลส์ล้วนๆ

ต่อมาทั้งคู่ก็มาเจอกันอีกครั้งก่อนเข้าโค้งเดิม คราวนี้นักเเข่งของเฟอร์รารี่ไม่ยอม ขับคู่มาพร้อมกับไมลส์จนเซงไปได้ เเต่ในจังหวะที่เเซงรถของเฟอร์รารี่ก็เกิดไฟลุกขึ้นจนขับต่อไปไม่ได้เเละต้องออกจากการเเข่งขันไป เเต่รถของไมลส์ขับไปได้ปกติเป็นเพราะความเข้าใจในตัวรถของไมลส์ในขณะที่นักเเข่ง Ferrari ขับไม่รู้ข้อจำกัดของตัวรถ ตอนนี้ไมลส์เเละฟอร์ดเป็นผู้นำการเเข่งขันที่เหลือเวลาอีกไม่มาก

รถของ Ford ทั้ง 3 คันกำลังจะเข้าเส้นชัย (รูปถ่ายจากการเเข่งขันจริง)

รถยนต์ของฟอร์ดอยู่ในอันดับ 1 2 3 ทั้งหมด เเละรถของไมลส์นำเป็นที่หนึ่ง ลีโอเกิดไอเดียที่อยากให้ฟอร์ดทั้ง 3 คันเข้าเส้นชัยพร้อมกันเพื่อสร้างประวัติศาสตร์ เลยสั่งให้ไมลส์ซะลอรถเพื่อรอคันอื่นๆ หัวหน้าทีมอย่างเซลบี้ไม่พอใจอย่างมากเลยบอกกับไมลส์บอกว่าให้เค้าเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะทำอย่างไร ซึ่งตอนเเรกเค้าไม่ยอมเเละยืนยันที่จะขับให้เร็วที่สุดที่จะทำได้ เเต่สุดท้ายไมลส์ก็ยอมซะลอรถเพื่อรอฟอร์ดคันอื่นๆ

เเต่เมื่อเข้าเส้นชัยไปปรากฏว่าผู้จัดการเเข่งขันปรับให้ไมลส์ตกเป็นอันดับที่สอง เพราะรถของไมลส์เริ่มต้นเเข่งขันในตำเเหน่งที่ใกล้ชัยเส้นกว่าอีกคัน พลาดโอกาสเป็นนักเเข่งรถคนเเรกในประวัติศาสตร์ที่คว้ารางวัลการเเข่งรถเเบบ 24 ชั่วโมง 3 รายการในปีเดียวกัน

ข้อคิดที่ได้

เเละนี้คือข้อคิด 5 ข้อที่ผมได้จากการดูหนังเรื่อง Ford vs Ferrari

1. เเต่ละตลาดมีหลาย Segment ต้องวางตัวให้ถูก

รถของ Ferrari ถือเป็น Super Car ที่คนส่วนใหญ่ใฝ่ฝัน เเล้วที่เป็นอย่างงั้นไม่ใช่เพราะหน้าตาหรือความเเรงของมันอย่างเดียว เเต่เป็นความตั้งใจที่จะผลิตรถที่มีความประณีตที่สุด เครื่องยนต์เเต่ละเครื่องผลิตด้วยมือเเละใช้ช่างคนเดียวทำ เบาะหนังภายในก็ผลิตเเบบเเฮนด์เมดเเละทำโดยช่างคนเดียวทั้งหมด มันทำให้รถยนต์ของเฟอร์รารี่เหมือนมีจิตวิญญาณของคนจริงๆที่ประกอบมันขึ้นมา

Ferrari ใช้คนเป็นหลักในการผลิตรถ

ส่วนรถยนต์ Ford ผลิตด้วยเครื่องจักรเเละเน้นความรวดเร็วเป็นหลัก ถึงหน้าตาบางรุ่นอาจจะดูสวย ราคาเอิ้อมถึง เเต่ถ้าไปถามคนส่วนใหญ่ว่ารถยี่ห้ออะไรคือรถในฝันระหว่าง Ford กับ Ferrari คนส่วนใหญ่คงตอบฟอร์ดอย่างไม่ลังเล

Henry Ford II ในโรงงานของ Ford

จริงอยู่ว่าราคาเป็นเรื่องสำคัญ เเต่ไม่ใช่สงครามที่ทุกคนควรเข้าไป เราสามารถทำตลาดในเเบบอื่นๆได้ ถ้าสินค้าของเรามีคุณภาพดีใช้วัตถุดิบเหนือว่าคนอื่น เราก็ต้องเลือกโปรโมทสินค้าของเราให้กับตลาดที่พร้อมจ่ายความฟรีเมี่ยมเหนือระดับได้

ต่างกันถ้าเรามีความสามารถในการควบคุมต้นทุนให้ต่ำเเละขายถูกได้ คุณภาพสินค้าอาจจะไม่ได้ดีมาก ถ้าเราจะเข้าไปเเข่งกับเเบรนด์หรูอันนี้ก็ลำบาก เราต้องสื่อสารไปที่กลุ่มลูกค้าอย่างเหมาะสมด้วย

2. พลังของสิ่งที่มองไม่เห็น

ถ้าเทียบจากขนาดบริษัทเเละยอดขาย Ferrari เป็นรอง Ford เเบบฟ้ากับเหว เเต่ถ้าพูดถึงเรื่องเเบรนด์ฟอร์ดกลับเทียบเฟอร์รารี่ไม่ติดเลย หนึ่งในสาเหตุนั้นนอกจากข้อที่เเล้วคือกลยุทธ์ในการทำการตลาด Ferrari เน้นความรู้สึกในจิตใจของคนเป็นหลัก ถ้าจะใช้เงินโฆษณาเเบบฟอร์ดคงไม่ไหว เฟอร์รารี่เลยเน้นไปที่การเเข่งรถเเทน

ในจิตใจของมนุษย์ทุกคนต้องการเหนือกว่าคนอื่น อยากเอาชนะ เพราะผู้ชนะย่อมได้ทุกอย่างทั้งชื่อเสียงเเละบารมี การที่ Ferrari เป็นเเชมป์การเเข่งรถ The 24 hours of Le Mans สนามที่โด่งดังที่สุดในโลกหลายสมัย นอกจากจะเป็นการเเสดงถึงศักยภาพของรถเเล้ว ยังทำให้เฟอร์รารี่มีภาพลักษณ์ของผู้ชนะ คนที่ชอบในยานยนต์ก็รู้สึกถึงข้อนี้เมื่อพูดถึงชื่อ Ferrari ถึงความเป็นผู้ชนะจะไม่สามารถจับต้องได้ก็ตาม

คนส่วนใหญ่เวลาโปรโมทสินค้าตัวเอง เอาเเต่พูดถึงข้อดีของสินค้าตัวเอง เเทนที่จะลงมือทำสิ่งที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงเชื่อมโยงกับสินค้าได้ ถึงจะเป็นทางอ้อมเเต่จะทำให้เราเอาชนะใจกลุ่มลูกค้าได้ในระยะยาว

ทีม Shelby เเละ Ford ทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้รถที่ดีที่สุด

3. Teamwork สำคัญมาก

ทั้งฟอร์ดเเละเคน ไมลส์ ต่างมีอีโก้เเละคิดว่าตัวเองถูกคนเดียว ซึ่งบางทีในจุดนี้จะทำให้เราไม่ประสบความสำเร็จ การยอมรับถึงจุดอ่อนของเราหรือการลดอีโก้ลงเพื่อให้ทีมไปต่อได้สำคัญมาก

เฮนรี่ ฟอร์ด II ที่ตอนเเรกจะทำตามวิธีที่บริษัทถนัดอย่างเดียวก็ลดอีโก้ลงเเละยอมอนุญาติให้ไมลส์เป็นคนขับ เพื่อให้บริษัทชนะการเเข่งขัน

เซลบี้ก็ต้องพยายามเพื่อหาจุดร่วมที่ดีที่สุดระหว่างกับฟอร์ดกับไมลส์ เพื่อไปถึงเป้าหมายถึงเเม้หลายๆครั้งจะไม่เห็นด้วยกับฟอร์ด

ในตอนที่เคน ไมลส์ กำลังจะเข้าเส้นชัยคนเดียวเเละทำลายสถิติหลายอย่าง ถ้าเค้าไม่ลดอีโก้เเละซะลอรถเพื่อรอฟอร์ดคันอื่นที่ตามมา ชัยชนะของ Ford ในปีนั้นอาจจะไม่เป็นที่จดจำเเละพูดถึงมากขนาดนี้

ส่วนตัวเค้าเองก็อาจจะไม่ได้เป็นนักเเข่งรถของฟอร์ดเเละได้ร่วมทีมกับเซลบี้ต่อไปเพราะคัดคำสั่งของผู้บริหารของ Ford (ถึงเเม้เค้าจะเสียชีวิตหลังจากนั้นเพียง 2 เดือน ขณะทดสอบรถสำหรับการเเข่งในปีถนัดมา)

4. องค์กรที่ยิ่งใหญ่ต้องมีคนเก่งหลายๆเเบบ

หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องโดยให้คนดูเห็นว่าในโลกเเห่งความสำเร็จ มักเกิดจากคนหลายๆเเบบ จากความเชื่อเเละความสามารถที่หลากหลาย

ฝ่ายผู้บริหารของ Ford มีเงินทุนที่จัดการเรื่องต่างๆให้เป็นไปตามเเผนการได้ เเต่บ่อยครั้งคนกลุ่มนี้มุ่งเเต่การบริหารงานจากโต๊ะทำงานอย่างเดียวเเละสนใจเเต่เรื่องตัวเลข จนไม่สนใจคนที่อยู่ด่านหน้าที่เป็นคนลงมือทำจริงๆซึ่งถ้าไม่มีการลงมือทำ เเผนการที่ดีที่สุดก็ไม่มีทางออกมาเป็นรูปร่างให้จับต้องได้

ผู้บริหาร Ford: Henry Ford II & Leo Beebe

คนที่ลงมือทำจริงๆ เช่น เคน ไมลส์ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีความรักเเละหลงไหลในสิ่งๆนั้น ซึ่งถือเป็นเเรงขับเคลื่อนที่ทรงพลัง เเต่คนกลุ่มนี้อาจจะมองไม่เห็นภาพใหญ่เพราะโฟกัสกับสิ่งที่ทำอยู่ตรงหน้าอย่างเดียว

Ken Miles Ford vs Ferrari

จากตัวอย่างในหนังถ้ามองลึกลงไปจะพบว่าทั้ง 2 ฝ่ายต่างต้องพึ่งพากันเเละกัน ถ้าไม่มีฟอร์ด เซลบี้ & เคน ไมลส์ก็ไม่มีเงินทุนเพื่อเอามาพัฒนารถให้เเข่งขันกับเฟอร์รารี่ได้ เเละอาจจะไม่ได้รับโอกาสเข้าไปเเข่งในรายการที่ใหญ่ที่สุดในโลกเเบบเลอม๊อง

อีกมุมถ้าไม่มีเคน ไมลส์ ฟอร์ดก็อาจจะไม่สามารถเอาชนะเฟอร์รารี่ได้เเละสุดท้ายจะไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทตัวเอง

5. หัวหน้าทีมไม่ต้องลงมือทำเอง เเต่ต้องทำให้ทีมไปต่อ

ในการร่วมมือกันต้องมีคนที่เข้าใจทุกฝ่าย เพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ ในเรื่อง Ford vs Ferrari เเครรอลล์ เซลบี้ มีบทบาทสำคัญมากในการเป็นคนกลางระหว่าง Ford กับ Kent Miles

ถ้าไม่มีเค้าอีก 2 ฝ่ายที่เหลือคงไม่สามารถร่วมมือกันได้เพราะ Ford มองเห็นเเต่ภาพใหญ่ เรื่องภาพลักษณ์ เเละความสำเร็จอย่างเดียว ส่วนไมลส์มองเเต่การเเข่งขันเเละการพัฒนารถโดยไม่สนใจอย่างอื่น

จากประสบการณ์ที่เป็นนักเเข่งรถเองเเละเป็นนักธุรกิจ ทำให้เซลบี้เข้าใจทั้ง 2 ฝ่ายได้ดีเเละมองออกว่าต้องทำอะไรทีมถึงจะประสบความสำเร็จ

นี่คือ 5 ข้อคิดที่ผมได้จากหนังเรื่อง Ford vs Ferrari ใครที่ดูเเล้วได้ข้อคิดอะไรบ้าง เอามาเเชร์กันได้ที่ใต้คอมเม้นต์ ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูต้องรีบไปดูเลย

ถ้าชอบบทความเเบบนี้ฝากกดหัวใจเเละ Share ด้วยครับ

Ball Thatthana

เเบ่งบันเรื่องราวการตลาดออนไลน์ ทำธุรกิจ พัฒนาตัวเอง เเง่คิดต่างๆ

Leave a Reply